
การยกระดับศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการรู้และปรับตัวจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
วันศุกร์ ที่ 8 ธันวาคม 2566 เทศบาลตำบลสันนาเม็ง นำโดย นางสวาท โกชุม นายกเทศมนตรี พร้อมคณะทำงาน จัดการประชุม ร่วมกับ เทศบาลตำบลหนองแหย่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อเรื่องของการยกระดับศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการรู้และปรับตัวจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และมีการบันทึก MOU ข้อตกลงร่วมมือการยกระดับศูนย์เรียนรู้โดยชุมชนท้องถิ่นและสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการรู้และปรับตัวจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาลตำบลสันนาเม็ง และเทศบาลตำบลหนองแหย่ง สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ ภาควิชาภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
จากสถานการณ์หมอขวัญที่เกิดขึ้นระยะเวลากว่า 10 ปีหลายภาคส่วนได้พยายามหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ซับซ้อนต้องการการจัดการอย่างเป็นระบบและเข้าถึงต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงการศึกษาพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จึงมุ่งเน้นพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่นควันโดยเลือกจากข้อมูลสถิติย้อนหลังของการเกิดจุดความร้อนและพื้นที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นควันโดยมุ่งหวังในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กพัฒนารูปแบบในการจัดการ ปัญหาไม่ว่าจะเป็นการลดการเผาการทำแนวกันไฟการเข้าถึงจุดความร้อนในสถานการณ์ฉุกเฉินการป้องกันตัวเองจากฝุ่นเพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการรู้ปรับตัวจากปัญหาดังกล่าวผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือกลไกที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่นำร่องในการรับรู้และปรับตัวสามารถจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กนอกจากนี้การจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาข้อเสนอแนะรวมทั้งองค์ความรู้ในการรู้และปรับตัวจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กผ่านการสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมายสามารถแบ่งกรอบการดำเนินงานเป็นการจัดอบรมกลุ่มเป้าหมายได้แก่บุคลากรที่ทำงานภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดปฎิบัติงานและนโยบายทั้งภาครัฐเอกชน และภาคประชาสังคมการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้งในประเด็นแหล่งกำเนิดผลกระทบต่อสุขภาพความเข้าใจเกี่ยวกับไฟป่าการลดผลกระทบการป้องกันตนเองเป็นต้น
.
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการรู้ปรับตัวจากภัยพลอขนาดเล็ก PM 2.5
- เพื่อพัฒนาพื้นที่นำร่องดูรปรับตัวการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยชุมชนท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบวงจรการเกิดภัย
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในประเด็นการรับมือจากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก จัดขึ้น ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลตำบลสันนาเม็ง



